หลักการและเหตุผล
สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและมีการแข่งขันอย่างรุนแรงนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของคนในองค์กรเป็นอย่างยิ่ง มุมมองของพนักงานมิใช่ผู้ที่เข้ามาทำงานเพื่อให้ประโยชน์แก่องค์กรเพียงเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพที่พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง มีคุณสมบัติและความสามารถที่ตอบสนองต่อความเป็นไปขององค์กรได้ในทุกสถานการณ์
การคัดเลือกพนักงานที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กรต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก นอกจากจะต้องได้พนักงานที่มีความสามารถ ทักษะที่ตรงกับความต้องการขององค์กรแล้ว ยังต้องสรรหาบุคลากรที่มีความเข้ากันได้กับองค์กรไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานและรวมถึงวัฒนธรรมขององค์กร
เพื่อให้การสรรหาบุคลากรเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร ผู้ที่ทำหน้าที่สรรหา คัดเลือก สัมภาษณ์และประเมินผู้ที่เหมาะสม ล้วนต้องมีความรู้ ทักษะและความสามารถทั้งเรื่องงาน วิเคราะห์หน้าที่และความรับผิดชอบของงาน การฝึกเพื่อเป็นผู้สัมภาษณ์ที่มีความสามารถในการคัดเลือกพนักงานได้ตามเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
1. สามารถเข้าใจกระบวนการ วิธีการและขั้นตอนของการสรรหาและคัดเลือกพนักงานได้
2. สามารถวิเคราะห์ทำความเข้าใจหน้าที่และความรับผิดชอบของงานเพื่อระบุ Competency สำหรับตำแหน่งงาน
3. สามารถออกแบบวิธีการและขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน และใช้การสัมภาษณ์หรือเครื่องมืออื่นเพื่อคัดเลือกบุคลากรได้ตรงกับ Competency ตามที่ต้องการ
4. สามารถวัดและประเมินพนักงานที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน รวมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของงานได้
กลุ่มเป้าหมาย
• หัวหน้างาน หัวหน้าทีม ที่ต้องการหาบุคลกรมาร่วมทีมที่โดนใจ
• ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ที่อยากได้พนักงานฝีมือเยี่ยมมาทำงาน
• เจ้าของกิจการ ที่อยากได้คนที่เป็นงานจริง มากความสามารถ ไว้วางใจได้
• พนักงานฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกพนักงานในองค์กร
• ผู้ที่ทำงานใน Recruitment Agency
รูปแบบการเรียนรู้
เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบการมีส่วนร่วม โดยผู้เรียนมีส่วนสำคัญและเป็นผู้รับผิดชอบต่อความสำเร็จของการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานของตนเอง ผู้เข้าร่วมมีหน้าที่สำคัญในการนำประสบการณ์หรืองานที่ดำเนินการอยู่มาเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ โดยวิทยากรจะจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ชวนให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลอง และลงมือทำตามกิจกรรมการเรียนรู้ และมองย้อนกลับเพื่อตกผลึกเป็นแนวคิดและคำตอบสำหรับการนำไปใช้กับงานและตนเองต่อไป
สัดส่วนของกิจกรรม
ประกอบด้วย บรรยาย 15%
ถามตอบ 5%
ฝึกปฏิบัติ 65%
การอภิปรายกลุ่มเพื่อสะท้อนการเรียนรู้ 15%
เนื้อหาในการเรียนรู้
1. ภาพรวมของการทำธุรกิจ บทบาท อำนาจ ความรับผิดชอบในตำแหน่งงาน
อธิบายและเข้าใจภาพรวมของธุรกิจ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของการเป็นผู้สรรหาและคัดเลือกพนักงานให้กับองค์กร เพื่อให้ได้พนักงานที่ตรงกับความต้องการขององค์กร
2. Competency ที่สำคัญของตำแหน่งงาน
วิเคราะห์บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งงานเพื่อให้ได้มาซึ่ง Competency ซึ่งประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่ต้องการจากตำแหน่งงานนั้น รวมถึงสมรรถนะหลักและสมรรถนะตามหน้าที่
3. การตั้งคำถามสัมภาษณ์เพื่อประเมินสมรรถนะ
เข้าใจกระบวนการเตรียมตัวและออกแบบคำถามเพื่อสัมภาษณ์เพื่อประเมินพนักงานว่ามีสมรรถนะตามที่ตำแหน่งต้องการหรือไม่ รวมถึงเข้าใจรูปแบบการตั้งคำถามที่ใช้ในการอธิบายพฤติกรรมและผลลัพธ์จากประสบการณ์การทำงานเพื่อสะท้อนถึงสมรรถนะที่ต้องการ
4. การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสัมภาษณ์งาน
ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อเป็นผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการสัมภาษณ์ พร้อมการอภิปราย ใคร่ครวญและสะท้อนคิดเพื่อเป็นผู้สัมภาษณ์และถูกสัมภาษณ์ที่มีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
5. เส้นทางของผู้สมัครงาน
ภาพรวมและความสำคัญของเส้นทางการเป็นผู้สมัครงาน ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของแต่ละขั้นตอนในเส้นทางของผู้สมัครงาน
6. Moving to Action กำหนดแผน ติดตาม สู่ความสำเร็จ
สรุปการเรียนรู้ และกำหนดแผนการทำงาน การติดตาม สู่ความสำเร็จในการทำงานของตนเอง ความสำเร็จของเรียนรู้ไม่ได้หยุดอยู่ที่ความสนุกจากวิทยากร หรือสรุปการเรียนรู้ที่ให้บอกสิ่งที่ชอบ สิ่งที่อยากให้ปรับ แต่อยู่ที่การลงมือเพื่อบริหารงานของตนเอง และทีมให้สำเร็จ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงตนเอง ดังนั้นผลสำเร็จที่แท้จริงของการอบรมจะอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงและผลของการนำไปใช้ ที่ผู้เรียนต้องสามารถกำกับและติดตามสะท้อนตนเองได้เพื่อให้เกิดนิสัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนางานต่อไป
วิทยากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล สรไกรกิติกูล
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารองค์การ การประกอบการและทรัพยากรมนุษย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คุณกันต์ ศรีทันดร
โค้ชและวิทยากรด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การผ่านการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จะได้รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาการอบรม
อบรมจำนวน 1 วัน เวลา 09.90 – 17.00 น. (7 ชั่วโมง)
สถานที่อบรม
ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร
ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 9,900 บาท (ชำระค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568) ซึ่งรวมถึง
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด (Early bird) คนละ 7,900 บาท (ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568)
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรในคณะฯ 25% คนละ 7,425 บาท
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20% คนละ 7,920 บาท
* สิทธิพิเศษสำหรับบุคลากรในคณะฯ และบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาอบรม 3 คน จ่ายค่าธรรมเนียม 2 คน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4506 (ติดต่อ คุณจุฑาทิพย์)
Mobile : 09-1119-4503 (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th