หลักการและเหตุผล
ในยุคปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญทั้งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่และขนาดย่อม นักลงทุนจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการลงทุนในตลาดทุนได้มาพร้อมกับความท้าทายที่สำคัญ โดยเฉพาะในด้านการป้องกันและควบคุมการทุจริตและพฤติกรรมฉ้อโกง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งต่อผู้ลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนต่างประเทศ
กรณีการทุจริตในตลาดทุนมีความซับซ้อนมากขึ้นและยากต่อการตรวจสอบ เนื่องจากการฉ้อโกงนั้นอาจถูกปกปิดภายใต้กระบวนการที่ดูเหมือนถูกต้องตามกฎหมาย การปั่นหุ้น การสร้างงบการเงินปลอม การใช้ข้อมูลภายในเพื่อสร้างกำไรส่วนตัว ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความมั่นคงของตลาดทุน นอกจากความสูญเสียทางการเงินแล้ว การฉ้อโกงในตลาดทุนยังสร้างผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและภาพลักษณ์ของตลาดทุนโดยรวม ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจถูกชะลอลง เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการทุจริตในตลาดทุน การเสริมสร้างความรู้และทักษะในการตรวจจับพฤติกรรมทุจริตจึงเป็นสิ่งจำเป็น โครงการอบรม “จับโจรใส่สูทในตลาดทุน” จึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ความรู้เชิงลึกและทักษะที่จำเป็นในการตรวจจับและป้องกันการฉ้อโกงในตลาดทุน เนื้อหาการอบรมครอบคลุมทั้งด้านบัญชีและการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเทคนิคการตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติในข้อมูลทางการเงิน ตลอดจนการต่อสู้คดีหากได้รับความเสียหายแล้ว ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนและผู้สนใจในตลาดทุนมีความพร้อมในการป้องกันตนเองจากการถูกหลอกลวง นอกจากนี้ การอบรมยังช่วยสร้างความเข้าใจในกระบวนการและข้อบังคับที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดำเนินการลงทุนได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย
นอกจากนี้ การอบรมยังเน้นให้ผู้เข้าอบรมมีโอกาสฝึกปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์กรณีศึกษาและข้อมูลจริง เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ต่าง ๆ การอบรมจึงไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ แต่ยังช่วยเสริมสร้างทักษะและความชำนาญที่จำเป็นในการประเมินความเสี่ยงและระบุสัญญาณเตือนภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าอบรมจะสามารถตรวจสอบและป้องกันตนเองจากพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายการทุจริต ทั้งยังสามารถแยกแยะการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงได้ดียิ่งขึ้น
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจชั้นนำของอาเซียน จำเป็นที่จะต้องมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการต่อต้านอาชญากรรมคอปกขาวเหล่านี้มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่สังคม หลักสูตรดังกล่าวเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สังคม โดยการป้องกันการทุจริตในธุรกิจและองค์กร ทำให้สังคมมีความตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบจากอาชญากรรมคอปกขาว ซึ่งช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อพัฒนาความโปร่งใสและความยุติธรรมในระบบเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถ สืบค้น ตรวจจับและระบุพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณของการทุจริตในตลาดทุนได้
2. เพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงจากกิจกรรมที่อาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในตลาดทุน
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้งานเครื่องมือและเทคนิคในการตรวจสอบการทุจริตและการกระทำผิดในตลาดทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าร่วมสามารถระบุสัญญาณเตือนภัยและพฤติกรรมที่เข้าข่ายการทุจริตได้อย่างแม่นยำ
2. ผู้เข้าร่วมมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบและป้องกันการฉ้อโกง
3. ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองตนเองจากการทุจริตในตลาดทุน
4. ผู้เข้าร่วมมีความมั่นใจในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการทุจริตในตลาดทุน
กลุ่มเป้าหมาย
1. นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันที่สนใจการป้องกันตนเองจากการทุจริตในตลาดทุน
2. ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเงินและการลงทุน
3. เจ้าหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและการตรวจสอบในตลาดทุน
หัวข้อการอบรม จำนวน 30 ชั่วโมง
1 Module 1: Introduction to White-collar Crime in Equity Markets (3 hours)
Objective: Understand the fundamentals of white-collar crime within equity markets, its types, impact, and scope.
• Overview of White-collar Crime
• Types of Fraud in Equity Markets
• Activities
Module 2: Financial Information Analysis for Detecting White Collar Crime (12 hours)
Objective: Develop skills in analyzing financial information and identifying signs of fraud through red flags in financial statements and market transactions.
• Introduction to Financial Statements (1.5 hours)
• Earnings Management and Financial Statement Analysis for Fraud Detection (1.5 hours)
• Roles of External and Internal Audits for Fraud Detection (6 hours)
• Transactional Data Analysis and Red Flags (3 hours)
• Activities
Module 3: Legal and Regulatory Frameworks (12 hours)
Objective Gain a comprehensive understanding of legal and regulatory frameworks governing equity markets, including anti-fraud regulations and compliance requirements.
• Overview of Securities Regulations and Compliance (1.5 hours)
• Overview of Investor Rights (1.5 hours)
• Anti-Fraud Legislation (1.5 hours)
• Ethics and Governance in Preventing White Collar Crime (1.5 hours)
• Regulatory Protections and Support for Investors (1.5 hours)
• Legal Recource for Investors – Class Actions (1.5 hours)
• Individual Lawsuits and Alternative Dispute Resolution (ADR) (3 hours)
• Activities
Module 4: Case Study (3 hours)
Objective Equip participants with practical investigative tools and methods to conduct fraud detection and prevention exercises effectively
• Each participant will complete a project analyzing a real or simulated case of fraud in equity markets.
วิธีการฝึกอบรม
การบรรยายเชิงทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติจากกรณีศึกษา การฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การนำเสนอกลุ่ม และการแบ่งปันประสบการณ์จากผู้เข้าอบรม
วิทยากร
วิทยากรประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีประสบการณ์จากสถาบันการศึกษา รวมทั้งบริษัทเอกชน และหน่วยงานราชการ ที่เชี่ยวชาญและชำนาญการในแต่ละสาขามาทำการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์สูงสุด
การผ่านการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงมีสิทธิ์ได้รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาการอบรม
วันเสาร์ที่ 1, 8, 15, 22 และ 29 มีนาคม 2568
เวลา 09.00 – 16.00 น.
สถานที่อบรม
ณ อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าธรรมเนียมการอบรม
-
ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 26,900 บาท ซึ่งรวมถึง
-
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรในคณะฯ 25% คนละ 20,175 บาท
-
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20% คนละ 21,520 บาท
-
สิทธิพิเศษสำหรับบุคลากรในคณะฯ และบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาอบรม 3 คน จ่ายค่าธรรมเนียม 2 คน (กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนสมัครใช้สิทธิ์)
ราคานี้รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการสอนและวุฒิบัตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4506 (ติดต่อ คุณจุฑาทิพย์)
Mobile : 09-1119-4503 (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th