[Online-Certificate]

Home : Open Enrollment Programs (Public Training Course) » All » Finance & Accounting

offline course หลักสูตร จับโจรใส่สูทในตลาดทุน (Detecting White-collar Crimes in Equity Markets)

ค่าธรรมเนียม :
  • จำนวนเงิน 26,900 บาท (สองหมื่นหกพันเก้าร้อยบาทถ้วน)
รับชำระผ่านการสแกน QR Code Payment
Saturday, 01.03.2025 - Saturday, 29.03.2025
รับสมัคร : 30 คน
จำนวน : 30 ชั่วโมง

รับชำระค่าธรรมเนียม

*

• ชำระก่อน 01-03-25

Latest update: 21.11.2024


หลักสูตร จับโจรใส่สูทในตลาดทุน (Detecting White-collar Crimes in Equity Markets) หลักสูตร จับโจรใส่สูทในตลาดทุน (Detecting White-collar Crimes in Equity Markets)

หลักการและเหตุผล

          ในยุคปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญทั้งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่และขนาดย่อม นักลงทุนจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการลงทุนในตลาดทุนได้มาพร้อมกับความท้าทายที่สำคัญ โดยเฉพาะในด้านการป้องกันและควบคุมการทุจริตและพฤติกรรมฉ้อโกง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งต่อผู้ลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนต่างประเทศ
          กรณีการทุจริตในตลาดทุนมีความซับซ้อนมากขึ้นและยากต่อการตรวจสอบ เนื่องจากการฉ้อโกงนั้นอาจถูกปกปิดภายใต้กระบวนการที่ดูเหมือนถูกต้องตามกฎหมาย การปั่นหุ้น การสร้างงบการเงินปลอม การใช้ข้อมูลภายในเพื่อสร้างกำไรส่วนตัว ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความมั่นคงของตลาดทุน นอกจากความสูญเสียทางการเงินแล้ว การฉ้อโกงในตลาดทุนยังสร้างผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและภาพลักษณ์ของตลาดทุนโดยรวม ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจถูกชะลอลง เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการทุจริตในตลาดทุน การเสริมสร้างความรู้และทักษะในการตรวจจับพฤติกรรมทุจริตจึงเป็นสิ่งจำเป็น โครงการอบรม “จับโจรใส่สูทในตลาดทุน” จึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ความรู้เชิงลึกและทักษะที่จำเป็นในการตรวจจับและป้องกันการฉ้อโกงในตลาดทุน เนื้อหาการอบรมครอบคลุมทั้งด้านบัญชีและการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเทคนิคการตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติในข้อมูลทางการเงิน ตลอดจนการต่อสู้คดีหากได้รับความเสียหายแล้ว ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนและผู้สนใจในตลาดทุนมีความพร้อมในการป้องกันตนเองจากการถูกหลอกลวง นอกจากนี้ การอบรมยังช่วยสร้างความเข้าใจในกระบวนการและข้อบังคับที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดำเนินการลงทุนได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย
          นอกจากนี้ การอบรมยังเน้นให้ผู้เข้าอบรมมีโอกาสฝึกปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์กรณีศึกษาและข้อมูลจริง เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ต่าง ๆ การอบรมจึงไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ แต่ยังช่วยเสริมสร้างทักษะและความชำนาญที่จำเป็นในการประเมินความเสี่ยงและระบุสัญญาณเตือนภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าอบรมจะสามารถตรวจสอบและป้องกันตนเองจากพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายการทุจริต ทั้งยังสามารถแยกแยะการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงได้ดียิ่งขึ้น
          คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจชั้นนำของอาเซียน จำเป็นที่จะต้องมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการต่อต้านอาชญากรรมคอปกขาวเหล่านี้มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่สังคม หลักสูตรดังกล่าวเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สังคม โดยการป้องกันการทุจริตในธุรกิจและองค์กร ทำให้สังคมมีความตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบจากอาชญากรรมคอปกขาว ซึ่งช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อพัฒนาความโปร่งใสและความยุติธรรมในระบบเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถ สืบค้น ตรวจจับและระบุพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณของการทุจริตในตลาดทุนได้
2. เพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงจากกิจกรรมที่อาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในตลาดทุน
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้งานเครื่องมือและเทคนิคในการตรวจสอบการทุจริตและการกระทำผิดในตลาดทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เข้าร่วมสามารถระบุสัญญาณเตือนภัยและพฤติกรรมที่เข้าข่ายการทุจริตได้อย่างแม่นยำ
2. ผู้เข้าร่วมมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบและป้องกันการฉ้อโกง
3. ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองตนเองจากการทุจริตในตลาดทุน
4. ผู้เข้าร่วมมีความมั่นใจในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการทุจริตในตลาดทุน

กลุ่มเป้าหมาย

1. นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันที่สนใจการป้องกันตนเองจากการทุจริตในตลาดทุน
2. ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเงินและการลงทุน
3. เจ้าหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและการตรวจสอบในตลาดทุน

หัวข้อการอบรม จำนวน 30 ชั่วโมง

Module 1: Introduction to White-collar Crimes in Equity Markets (3 hours)
Objective: Understand the fundamentals of white-collar crime within equity markets, its types, impact, and scope.
Overview of White-collar Crime
Types of Fraud in Equity Markets
Activities
Module 2: Financial Information Analysis for Detecting White-collar Crimes (12 hours)
Objective: Develop skills in analyzing financial information and identifying signs of fraud through red flags in financial statements and market transactions.
Introduction to Financial Statements (1.5 hours)
Earnings Management and Financial Statement Analysis for Fraud Detection (1.5 hours)
Roles of External and Internal Audits for Fraud Detection (6 hours)
Transactional Data Analysis and Red Flags (3 hours)
Activities
Module 3: Legal and Regulatory Frameworks (12 hours)
Objective Gain a comprehensive understanding of legal and regulatory frameworks governing equity markets, including anti-fraud regulations and compliance requirements.
Overview of Securities Regulations and Compliance (1.5 hours)
Overview of Investor Rights (1.5 hours)
Anti-Fraud Legislation (1.5 hours)
Ethics and Governance in Preventing White Collar Crime (1.5 hours)
Regulatory Protections and Support for Investors (1.5 hours)
Legal Recource for Investors – Class Actions (1.5 hours)
Individual Lawsuits and Alternative Dispute Resolution (ADR) (3 hours)
Activities
Module 4: Case Study (3 hours)
Objective Equip participants with practical investigative tools and methods to conduct fraud detection and prevention exercises effectively.
Each participant will complete a project analyzing a real or simulated case of fraud in equity markets.

วิธีการฝึกอบรม

การบรรยายเชิงทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติจากกรณีศึกษา การฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การนำเสนอกลุ่ม และการแบ่งปันประสบการณ์จากผู้เข้าอบรม

วิทยากร

วิทยากรประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีประสบการณ์จากสถาบันการศึกษา รวมทั้งบริษัทเอกชน และหน่วยงานราชการ ที่เชี่ยวชาญและชำนาญการในแต่ละสาขามาทำการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์สูงสุด
รศ.ดร.ศรายุทธ เรืองสุวรรณ
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และการคลัง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.สุภาวินี จีวะสุวรรณ
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คุณมนตรี คงเครือพันธุ์
หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ดร.กฤตพงศ์ อรชัยพันธ์ลาภ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทาคูนิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
พ.ต.อ.เผด็จ งามละม่อม
รองผู้บังคับการกองปราบปราม
พ.ต.อ.ธีรภาส ยั่งยืน
ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
พ.ต.ท.ณธัชพงศ์ สินสิริยานนท์
รองผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
ร.ต.อ.วิโรจน์ พรประพฤติ
รองสารวัตร กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
คุณกิตติศักดิ์ ชนกมาตุ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีแอนด์แอล อินเทอร์นอล ออดิท จำกัด
คุณกุดั่น สุขุมานนท์
ทนายความหุ้นส่วน บริษัท กุดั่น แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด
คุณคม วชิรวราการ
ทนายความหุ้นส่วน บริษัท กุดั่น แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด
คุณสาวธิตะวัน ธนสมบัติไพศาล
ทนายความหุ้นส่วน บริษัท กุดั่น แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด

การผ่านการอบรม

ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงมีสิทธิ์ได้รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระยะเวลาการอบรม

วันเสาร์ที่ 1, 8, 15, 22 และ 29 มีนาคม 2568 
เวลา 09.00 – 16.00 น.

สถานที่อบรม

ณ อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ค่าธรรมเนียมการอบรม

  • ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 26,900 บาท  ซึ่งรวมถึง
  • ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรในคณะฯ 25% คนละ 20,175 บาท
  • ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20% คนละ 21,520 บาท
  • สิทธิพิเศษสำหรับบุคลากรในคณะฯ และบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาอบรม 3 คน จ่ายค่าธรรมเนียม 2 คน (กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนสมัครใช้สิทธิ์)
ราคานี้รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการสอนและวุฒิบัตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4506   (ติดต่อ คุณจุฑาทิพย์)
Mobile : 09-1119-4503   (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th

Click :: 09 1119 4503   09 1119 4506   [ Line call ]  [เวลา 8.30 - 17.00 น.]


*มาตรการการจัดอบรม Onsite   **ค่าใช้จ่ายในการอบรม "บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคล" สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 200%

Courses accepting applications


Upcoming Short Courses


All Programs...


สนใจข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดทำหลักสูตร In-house :
คุณหริณโรจน์ (ฟ้า)    091-119-4507    091-119-4502