[Online-Certificate]

Home : Open Enrollment Programs (Public Training Course) » All » Finance & Accounting

offline course หลักสูตร Visionary CFO

ค่าธรรมเนียม :
  • จำนวนเงิน 140,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
รับชำระผ่านการสแกน QR Code Payment
Tuesday, 03.09.2024 - Tuesday, 19.11.2024
รับสมัคร : 40 คน
จำนวน : 151 ชั่วโมง

• Notify Me » (ปิดรับสมัคร)
Latest update: 11.06.2024

✨ "ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง CFO อย่างมั่นใจ" ✨


หลักสูตร Visionary CFO

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงหลากหลายรูปแบบ ทำให้องค์กรต้องมีการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดและพัฒนาความพร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้เสมอ ซึ่งตำแหน่งนักบัญชีก็เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันนักบัญชีไม่ใช่แค่การทำงานด้านการเงินเท่านั้น แต่ยังสามารถนำความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านการเงินมาใช้ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าตำแหน่งที่นักบัญชีโดยส่วนใหญ่อยากก้าวไปให้ถึงนั้นก็คือ CFO หรือ Chief Financial Officer ที่มีบทบาทในการเป็นผู้บริหารด้านการเงินขององค์กร ทั้งยังมีส่วนร่วมในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา วางแผน และกำหนดกลยุทธ์ให้องค์กรสามารถเติบโตไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การประเมินโครงการลงทุนและการตัดสินใจ การวิเคราะห์การเงินและความเสี่ยงขององค์กร เป็นต้น 
โครงการอบรมหลักสูตร Visionary CFO ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรการอบรมที่เน้นสร้างทักษะการเตรียมความพร้อมให้กับบุคคลเพื่อก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง CFO หรือการพัฒนาความรู้ ความสามารถให้กับผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่ง CFO ให้มีความสามารถในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นกำลังสำคัญให้กับการบริหารองค์กร และโครงการอบรมหลักสูตร Visionary CFO ยังเน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม Workshop ที่สามารถปฏิบัติได้จริง กรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ การสร้างเครือข่ายนักบริหารเพื่อความร่วมมือในอนาคต รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรในบริษัททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล 
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความสามารถ สำหรับการเตรียมตัวก้าวสู่การเป็น CFO ในอนาคต
2. เพื่อเพิ่มความสามารถทางการเงิน การบริหาร และพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้บริหารระดับสูง 
4. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์จริงระหว่างวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่มผู้เข้าอบรม 
5. เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรในบริษัทที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 ท่าน

1. ผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง CFO หรือ Chief Financial Officer ในอนาคต
2. ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง CFO หรือ Chief Financial Officer
3. บุคลากรระดับสูงที่ทำงานทางด้านการเงิน การบัญชี ทั้งภาครัฐและเอกชน
4. บุคคลทั่วไปที่สนใจ ด้านบัญชีการเงิน
** ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านบัญชีการเงิน

หลักสูตรการอบรม รวมทั้งสิ้น 151 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา ดังนี้


MODULE 1: จำนวน 87 ชั่วโมง

1. ภาพรวมการเงินธุรกิจและบทบาทของ CFO

  • เป้าหมายของการบริหารด้านการเงิน

  • แนวคิดการจัดการอิงหลักมูลค่าและตัววัดมูลค่า

  • โครงข่ายการสร้างมูลค่า

  • ความเชื่อมโยงของแผนกลยุทธ์กับตัวสร้างมูลค่า

  • มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ

  • บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของ CFO

2. อ่านงบให้รู้ ดูงบให้เป็น: วิเคราะห์ ประเมินและบ่งชี้แนวทางดำเนินธุรกิจในอนาคต

  • สินทรัพย์ : ประเมินศักยภาพความสามารถในการสร้างรายได้ กำไรและผลตอบแทน

  • หนี้สินและส่วนของเจ้าของ : ประเมินความมั่นคง/ความเสี่ยง

  • ความสามารถในการดำเนินงานและคุณภาพกำไร

  • วิเคราะห์และประเมินผ่านกระแสเงินสดจากทั้งสามกิจกรรม

  • วิเคราะห์ด้วยอัตราส่วนทางการเงิน

  • สภาพคล่อง

  • ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์

  • ภาระหนี้และความสามารถในการจ่ายหนี้

  • ความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน

  • การใช้ Dupont System ในการวิเคราะห์และกำหนดแผนดำเนินงานในอนาคต

  • ประโยชน์จากการอ่านงบการเงิน นอกเหนือจากการใช้วิเคราะห์ 

3. แหล่งเงินทุนและทางเลือกในการระดมทุน

  • ความหมายของเงินทุน (Capital) และประเภทของเงินทุน

  • แหล่งเงินทุนภายในและภายนอก

  • การระดมทุนจากการก่อหนี้

  • เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

  • การออกหุ้นกู้

  • การระดมทุนจากหุ้นบุริมสิทธิ

  • การระดมทุนจากหุ้นสามัญ

  • ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ

  • หลักเกณฑ์สำคัญในการเลือกตราสารในการระดมทุน

4. ต้นทุนเงินทุน: อัตราตัดสินใจทางการเงิน

  • เหตุผลที่เงินทุนต้องมีต้นทุน

  • ต้นทุนเงินจากเจ้าใดสูงกว่า?

  • ต้นทุนเงินทุนจากหนี้สิน

  • ต้นทุนของเงินกู้ยืม

  • ต้นทุนของหุ้นกู้

  • ต้นทุนเงินทุนจากหุ้นบุริมสิทธิ

  • ต้นทุนเงินทุนจากหุ้นสามัญ

  • ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

  • การกำหนดอัตราตัดสินใจทางการเงิน (Hurdle Rate)

5. โครงสร้างเงินทุน: สัดส่วนเงินจากเจ้าหนี้และเจ้าของที่เหมาะสม (*)

  • เป้าหมายและผลกระทบของโครงสร้างเงินทุนต่อมูลค่ากิจการ

  • ทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน (โดยสรุป)

  • การศึกษาหาโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม

  • ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดโครงสร้างเงินทุนเป้าหมาย

  • ความเสี่ยงทางธุรกิจและความเสี่ยงทางการเงิน 

6. การประเมินโครงการลงทุน

  • ความหมายและผลกระทบของโครงการลงทุนที่มีต่อการสร้างมูลค่ากิจการ

  • ภาพรวมการพัฒนาและวิเคราะห์โครงการลงทุน

  • วัตถุประสงค์และขั้นตอนของการวิเคราะห์ด้านการเงิน

  • สรุปเงินลงทุนในโครงการ

  • แหล่งเงินทุนและต้นทุนเงินทุน (อัตราลดค่าเพื่อใช้ตัดสินใจ)

  • กระแสเงินสดโครงการ (อิสระ)

  • โครงการที่เป็นอิสระต่อกันและโครงการที่ทดแทนกันได้

  • เครื่องมือในการประเมินเพื่อตัดสินใจลงทุน

7. การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญและกิจการ

  • การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญจากสินทรัพย์อ้างอิง

  • การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยตัวคูณจากตลาด (ราคาเทียบเคียง)

  • การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธีตีลดค่าเงินปันผล

  • การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญและกิจการด้วยวิธีตีลดค่ากระแสเงินสดอิสระ

  • การประเมินจากกระแสเงินสดอิสระของกิจการ

  • การประเมินจากกระแสเงินสดอิสระของผู้ถือหุ้น

  • ข้อควรระวังในการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญและกิจการด้วยวิธีตีลดค่ากระแสเงินสดอิสระ

8. สภาพคล่องและการบริหารเงินทุนหมุนเวียน : เส้นเลือดหล่อเลี้ยงธุรกิจ

  • ความหมายและความสำคัญของเงินทุนหมุนเวียน

  • นโยบายการลงทุนและการจัดหาเงินทุนสำหรับเงินทุนหมุนเวียน

  • การบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง

  • วงจรการแปรสภาพเป็นเงินสด : ภาพรวมสภาพคล่องธุรกิจ

  • การกำหนดขนาดเงินสดที่เหมาะสม

  • งบประมาณเงินสด : เครื่องมือสำคัญในการวางแผนและบริหารเงินสด

  • ตัวชี้วัดอัตราส่วนสภาพคล่องเพื่อควบคุมและจัดการสภาพคล่อง

9. การจัดการความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management)

  • เหตุแห่งการจัดการความเสี่ยง

  • ภาพรวมการจัดการความเสี่ยงองค์กร

  • กรอบการจัดการความเสี่ยงองค์กร

  • ประเภทของความเสี่ยง

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

  • ความเสี่ยงจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์

  • ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย

  • ความเสี่ยงจากการเลือกโครงการลงทุน

  • ความเสี่ยงจากการจัดการเครดิต 9 ชั่วโมง

10. การกำหนดกลยุทธ์ด้านการเงิน

  • วงจรชีวิตธุรกิจและการกำหนดกลยุทธ์

  • กลยุทธ์ด้านการเงินสำหรับธุรกิจริเริ่มใหม่ (Start-Up)

  • กลยุทธ์ด้านการเงินสำหรับธุรกิจเติบโต

  • กลยุทธ์ด้านการเงินสำหรับธุรกิจอิ่มตัว

  • กลยุทธ์ด้านการเงินสำหรับธุรกิจที่กำลังถดถอย

11. Non-Organic Growth ผ่านการ M&A

  • มูลค่าและแรงจูงใจในการเติบโตผ่านการ M&A

  • ประเภทของ M&A

  • การหากิจการเป้าหมายที่จะทำการ M&A

  • การวิเคราะห์และประเมินกิจการที่จะเข้าซื้อ

  • การดำเนินการและกำหนดราคาเสนอซื้อ

  • บทบาทของที่ปรึกษาทางการเงิน/วาณิชธนากร

  • ประเด็นด้านภาษีและกฎหมายที่สำคัญในการทำ M&A

12. การบริหารการเงินสำหรับธุรกิจนานาชาติ : การจัดการความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน

  • การบริหารการเงินสำหรับธุรกิจนานาชาติและธุรกิจในประเทศ

  • ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องตลาดเงินตราต่างประเทศ

  • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

  • ทฤษฎีและตัวแบบเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน (การวิเคราะห์แบบปัจจัยพื้นฐาน)

  • การวิเคราะห์ทางด้านเทคนิค

  • การจัดการความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนจากธุรกรรมการค้า (Transaction Risk)

MODULE 2: จำนวน 39 ชั่วโมง

13. มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ CFO ต้องทราบ

  • มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า

  • มาตรฐานการรายงานทางการเงิน PACK5

  • มาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงิน โดยเฉพาะการบัญชีป้องกันความเสี่ยง

  • มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้

  • การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการระหว่างกัน

  • มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 เรื่อง กำไรต่อหุ้น

14. แผนการเงินและประมาณการทางการเงิน (Financial Plan & Financial Forecasting)

  • Financial forecasting

  • Assumptions are the most important.

  • Sensitivity analysis

15. Efficiency of managerial reports

  • Data visualization

  • Responsibility centers

  • Segment reporting

  • Performance measurement

16. Digital transformation

  • Big data

  • Data analytics

  • Digital ecosystem

MODULE 3: จำนวน 22 ชั่วโมง

17. Corporate Tax Planning

  • Corporate income tax

  • Value added tax

  • Import tax

  • Excise tax

  • Tax planning for corporate

  • International tax planning

18. Internal Control and Related Party Transaction

  • Understanding the role of Internal control

  • Responsibilities of Internal control

  • Relationship between Internal control and Board of Director and Audit Committee

  • Related Party Transaction

19. Investor Relationship

  • Role of Investor Relations

  • Importance of Investor Relations

  • Investor Relations characteristics

  • Communication to Investors

20. กิจกรรมอื่น ๆ

  • กิจกรรมแนะนำตัว

  • Dinner Talk 

ทัศนศึกษาดูงานในประเทศ


 **สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไม่อนุญาตให้คัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งของหลักสูตรสัมมนานี้

วิทยากร

ประกอบด้วยคณาจารย์วิทยากร ที่ปรึกษา และผู้บริหารที่มีประสบการณ์สูง เพื่อสร้างมุมมองใหม่จากตัวอย่างและประสบการณ์จริงขององค์การที่ประสบความสำเร็จ เป็นการผสมผสานวิทยากรที่เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเพื่อความสมบูรณ์ของหลักสูตร

วิธีการฝึกอบรม

วิธีการฝึกอบรมเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและนำหลักทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติจริงให้มากที่สุด วิธีการฝึกอบรมจึงประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมแต่ละกรณี  ได้แก่
  - บรรยาย
  - Discussion
  - Workshop
  - Case Study
  - Dinner Talk
  - ทัศนศึกษาดูงาน

การผ่านการอบรม

ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงมีสิทธิ์ได้รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระยะเวลาและสถานที่การอบรม

อบรมวันที่ 3 กันยายน – 19 พฤศจิกายน 2567
ทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี เวลา 09.00 - 16.00 น. 
   *บางวันอบรม เวลา 09.00 – 19.00 น. (รวม Dinner Talk เวลา 16.00 – 19.00 น.)
   ** ทัศนศึกษาดูงานในประเทศ วันศุกร์
 สถานที่อบรม โรงแรมเอเวอร์กรีน ลอเรล กรุงเทพฯ

ค่าธรรมเนียมการอบรม

  • ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 140,000 บาท 
  • ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด (Early bird) 129,000 บาท (วันที่ 24 มิถุนายน – 23 สิงหาคม 2567)
ซึ่งรวมถึง
  1. ค่าอาหารกลางวัน และอาหารว่างตลอดการอบรม
  2. ค่าอาหารเย็น เฉพาะวันที่มี Dinner Talk
  3. กระเป๋าเอกสาร แฟ้มเอกสาร และสมุดบันทึก
  4. ค่าทัศนศึกษาดูงานในประเทศ
  5. วุฒิบัตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4503   (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th

Click :: 09 1119 4503   09 1119 4506   [ Line call ]  [เวลา 8.30 - 17.00 น.]


*มาตรการการจัดอบรม Onsite   **ค่าใช้จ่ายในการอบรม "บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคล" สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 200%
   ปิดรับสมัคร!!!

Courses accepting applications


Upcoming Core Courses


All Programs...


สนใจข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดทำหลักสูตร In-house :    คุณหริณโรจน์ (ฟ้า) 091-119-4507