หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันเศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและทวีความซับซ้อนขึ้น ประกอบกับการเกิดธุรกรรมใหม่ ๆ ในการประกอบธุรกิจ เช่น ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน เป็นต้น ทำให้ International Financial Reporting Standard Foundation ซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงินนานาชาติ (IFRSs) พิจารณาปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงในมาตรฐานฯ ดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทย (Thai Financial Reporting Standards: TFRSs) อย่างต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทยนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินนานาชาติ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จัดโครงการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับ Thai Financial Reporting Standards: TFRSs ขึ้น เพื่อให้ผู้อบรมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดเอาไว้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเล็งเห็นควาสำคัญและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ TFRS มากยิ่งขึ้น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวทางที่กำหนดไว้ใน TFRS มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้อัพเดทความรู้ด้านมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สำคัญ
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้สอบบัญชี
- ผู้ทำบัญชี
- บุคคลทั่วไป
เนื้อหาการอบรม หลักสำคัญของ TFRS 9: เครื่องมือทางการเงิน
• การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า (Classification and Measurement) สำหรับสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน
o การวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก
o การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ
• การจัดประเภทรายการใหม่ (Reclassification) สำหรับทรัพย์สินทางการเงิน
o จากราคาทุนตัดจำหน่ายเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน หรือกลับกัน
o จากมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนเป็นประเภทที่วัดด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย หรือกลับกัน
o จากราคาทุนตัดจำหน่ายเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือกลับกัน
• แนวปฏิบัติทางบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring and Modification)
• ผลขาดทุนจากการด้อยค่า (Impairment Loss) ของสินทรัพย์ทางการเงินตามหลักการของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss Model)
o วิธีการทั่วไป
o วิธีการอย่างง่าย
• การบัญชีป้องกันความเสี่ยง (Hedge Accounting)
o วัตถุประสงค์ของการป้องกันความเสี่ยง
o รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง
o การเข้าเงื่อนไขการบัญชีป้องกันความเสี่ยง
o การบัญชีสำหรับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไขการป้องกันความเสี่ยง
• จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
o ข้อกำหนดเรื่องจรรยาบรรณตาม พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
o ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2561
o โครงสร้างข้อบังคับความหมาย
ความหมาย
หมวดที่ 1 บททั่วไป
หมวดที่ 2 หลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณ
หมวดที่ 3 การนำหลักการพื้นฐานไปปฏิบัติ
o โครงสร้างคู่มือประมวลจรรยาบรรณ พ.ศ.2564
วิทยากร
รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สุภัทรกุล
คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิธีการฝึกอบรม
วิธีการฝึกอบรมเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและนำหลักทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติจริงให้มากที่สุด วิธีการฝึกอบรมจึงประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมแต่ละกรณี ได้แก่
- การบรรยาย
- กรณีศึกษา
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ
การผ่านการอบรม
• ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงมีสิทธิ์รับวุฒิบัตร จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนับจำนวนชั่วโมงอบรมตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด ดังนี้
o ผู้สอบบัญชี
ด้านบัญชี จำนวน 6 ชั่วโมง 30 นาที
ด้านจรรยาบรรณ จำนวน 30 นาที
o ผู้ทำบัญชี
ด้านบัญชี จำนวน 7 ชั่วโมง
ระยะเวลาการอบรม
วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566
เวลา 09.00 – 17.30 น.
สถานที่อบรม
ณ อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 4,500 บาท ซึ่งรวมถึง
1. เอกสารประกอบการบรรยาย
2. ค่าอาหารกลางวัน และอาหารว่างตลอดการอบรม
3. แฟ้มเอกสาร และสมุดบันทึก
4. ตำรา
5. วุฒิบัตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4503 (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th