หลักการและเหตุผล
การตัดสินใจอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นกระบวนการที่สำคัญในการตัดสินอนาคตขององค์กร และกระบวนการตัดสินใจนี้มีความเกี่ยวข้องกับ ระบบสมองและความคิดของผู้บริหาร ข้อมูลและข้อเท็จจริง รวมถึงสถานะการณ์แวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคศตวรรษที่ 21 World Economic Forum (WEF) ได้บ่งชี้ความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องมีทักษะที่สำคัญ หรือ 21st Century Skills ที่เพิ่มขึ้นหลายอย่าง เพื่อจัดการกับข้อมูลและสถานการณ์ที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบที่คาดไม่ถึง ทั้งนี้ยังรวมถึงทักษะการคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking) คือ การที่มนุษย์คิดอย่างมีวิจารณญาณ มองอย่างรอบคอบและรอบด้าน ตั้งคำถามอย่างท้าทาย สงสัยอย่างสร้างสรรค์ สามารถหามุมโต้แย้งเพื่อลดความเสี่ยง ทำให้เกิดมุมมองที่ต่างออกไป ได้ทางเลือกใหม่ๆในทางออกของปัญหา และส่งผลต่อการตัดสินใจที่ถูกต้องและรวดเร็ว ทักษะนี้เป็นทักษะที่ขาดหายไปอย่างมากในสังคมไทย สังคมที่ถูกสอนให้เชื่อผู้ใหญ่ (Authority Bias) หลักสูตรจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจจุดอ่อนของตนเอง และพัฒนาทักษะการคิดที่ก้าวหน้าขึ้นไป
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จัดโครงการอบรมหลักสูตร Critical thinking for Decision Making ขึ้น เพื่อให้ผู้อบรมนำความรู้ทางธุรกิจไปประยุกต์ใช้กับงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดเอาไว้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงเกี่ยวกับทักษะการวิเคราะห์และเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง นำไปสู่การป้องกันและแก้ไขที่ถูกต้องและรวดเร็ว
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การพัฒนาและปรับปรุงระบบความคิดและกระบวนการในการตัดสินใจ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกคิดเชิงวิพากษ์ และสามารถสร้างทางเลือกใหม่ๆในการแก้ไขปัญหาได้
กลุ่มเป้าหมาย
- พนักงานบริษัทเอกชน
- บุคลากรในหน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ
- บุคคลทั่วไป
หลักสูตรการอบรม จำนวน 6 ชั่วโมง
- Critical thinking in the Changing World: WHY?
- Critical thinking process: WHAT?
• Bloom’s Taxonomy
• Logical Reasoning
- 3 Framings of the issue 3 รูปแบบการวางกรอบปัญหาเพื่อการตัดสินใจ
- Becoming Critical Thinking: HOW?
• 5 Habits for Critical Thinker
• Fact vs Opinion
• Truth vs Belief
- Do and Don’t in Critical Thinking
• Biasness
• Lying with Statistics
วิธีการฝึกอบรม
วิธีการฝึกอบรมเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและนำหลักทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติจริงให้มากที่สุด วิธีการฝึกอบรมจึงประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมแต่ละกรณี ได้แก่
- การบรรยาย
- กรณีศึกษา
- Workshop
วิทยากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ ปัทมะโรจน์
อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การผ่านการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงมีสิทธิ์รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถานที่อบรม
ณ อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ระยะเวลาการอบรม
วันที่ 1 ธันวาคม 2567
เวลา 09.00 – 16.00 น.
ค่าธรรมเนียมการอบรม
-
ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 6,900 บาท
-
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรในคณะฯ 25% คนละ 5,175 บาท
-
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20% คนละ 5,520 บาท
-
สิทธิพิเศษสำหรับบุคลากรในคณะฯ และบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาอบรม 3 คน จ่ายค่าธรรมเนียม 2 คน (กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนสมัครใช้สิทธิ์)
ราคานี้รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการสอนและวุฒิบัตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4506 (ติดต่อ คุณจุฑาทิพย์)
Mobile : 09-1119-4503 (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th