หลักการและเหตุผล
แนวคิดและการบริหารงานแบบ Agile เป็นแนวคิดที่มีความสำคัญกับการทำงานขององค์กรอย่างยิ่ง เพราะในสภาวะที่ธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง การปรับตัวในกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ยืดหยุ่น ลดขั้นตอนการทำงาน และสร้างกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ จะช่วยผลักดันธุรกิจให้สามารถขับเคลื่อนและต่อสู้กับการแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นองค์กรจึงต้องพัฒนาความรู้ ทักษะ ของบุคลากรให้มีความรู้ในการบริหารงานแบบ Agile เพื่อการนำความรู้มาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงาน อันจะส่งผลให้องค์กรสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนในโลกธุรกิจต่อไป
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงจัดโครงการอบรมหลักสูตร Agile Management ขึ้น เพื่อให้ผู้อบรมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดเอาไว้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นความสำคัญและเข้าใจแนวคิดของ Agile และการบริหารงานแบบ Scrum
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ด้าน Agile การบริหารงานแบบ Scrum มาใช้พัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นภาพกระบวนการทำงานโดยใช้แนวคิดของ Agile และ Scrum มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ผ่านการปฏิบัติจริงผ่านเกมจำลอง
กลุ่มเป้าหมาย
- พนักงานบริษัทเอกชน
- บุคลากรในหน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ
- บุคคลทั่วไป
หลักสูตรการอบรม จำนวน 6 ชั่วโมง
1. อะไรคือแนวคิดการทำงานแบบ Agile?
2. แนวคิดการบริหารงานแบบ SCRUM เบื้องต้น
3. ความแตกต่างระหว่างการทำงานทั่วไปกับแบบ Agile
4. หลักคิดและปรัชญาการทำงานแบบ Agile
5. การทำงานแบบ Agile เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์องค์กร
6. การเลือกวงจรการบริหารโครงการ (Life Cycle Selection)
- วงจรแบบคาดการณ์ได้ (Predictive Life Cycle)
- วงจรแบบ Agile (Agile Life Cycle)
- วงจรแบบผสมผสาน (Hybrid Life Cycle)
- เทคนิคสกัดทางเลือกวงจรการบริหารโครงการ (Filtering Life Cycle Selection)
7. การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการใช้ Agile
- การฝังหลักคิด Agile ให้ทีมงาน (Agile Mindset)
- บทบาทผู้นำทีม Agile สู่ความสำเร็จ
- การเป็นผู้จัดการโครงการ Agile
- องค์ประกอบของทีมแบบ Agile
8. แนวทางและเทคนิคการทำงานแบบ Agile SCRUM
วิธีการฝึกอบรม
เน้นเรียนรู้ผ่านการทดลองปฏิบัติจริงในวันแรก ผ่านเกมจำลองที่ช่วยสร้างความสนุกในการเรียนรู้ และกลับมาตีกรอบทฤษฎีในวันที่สอง ประยุกต์กับงานขององค์กร เพื่อให้ประโยชน์ในการเรียนสูงสุด
- การบรรยาย 25%
- Workshop 75%
วิทยากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ ปัทมะโรจน์
อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การผ่านการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงมีสิทธิ์รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถานที่อบรม
ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ระยะเวลาการอบรม
วันที่ 17 มีนาคม 2567
เวลา 09.00 – 16.00 น.
ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียม 6,900.- บาท ต่อท่าน
ราคานี้รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการสอนและวุฒิบัตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4503 (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th