การจัดทำบัญชีในอดีตมักจัดบัญชีทำบัญชีสำรองหลายบัญชี หลายครั้งเป็นไปเพื่อการเลี่ยงภาษีอากร จึงทำให้เกิดความยากลำบากในการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐ และในด้านของผู้ประกอบการเองก็ไม่สามารถขอกู้เงินในนามของบริษัทได้ เพราะมีเงินหมุนเวียนในบัญชีที่กระจัดกระจายไม่น่าเชื่อถือ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาสินเชื่อเพื่อธุรกิจ จากบัญชีชุดเดียวที่กิจการยื่นส่งต่อกรมสรรพากรเท่านั้น
นอกเหนือจากความรู้ด้านการจัดทำบัญชีแล้ว ความรู้ทางด้านการอ่านวิเคราะห์งบการเงิน และด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลก็มีความสำคัญที่และประโยชน์อย่างมากสำหรับที่ผู้ประกอบการ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่นำไปใช้ในการวางแผนและช่วยให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้อง การจัดทำบัญชีชุดเดียวจึงมีประโยชน์ในด้านความสะดวกสบายในการปรับปรุงบัญชี มีระบบบัญชีที่ดี มีข้อมูลงบการเงินถูกต้องและครบถ้วน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์แผนธุรกิจและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อสู้กับคู่แข่งได้ทันที การยื่นเอกสารและหลักฐานกับธนาคารนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น ธุรกิจมีงบการเงินที่น่าเชื่อถือ มีโอกาสได้เพิ่มวงเงินในการขอสินเชื่อได้มากขึ้น รวมถึงมีโอกาสได้รับการสนับสนุน นโยบายจากภาครัฐเพิ่มเติมอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐานในการทำบัญชีชุดเดียว
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบเทคนิคและวิธีการทำบัญชีชุดเดียว
3. เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเสียภาษีเงินได้นิติบุคล
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถวางแผนการเสียภาษีที่สอดคล้องกับกิจกรรมขององค์กร
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในเรื่องการจัดทำบัญชีร่วมกัน
6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการดังกล่าวไปประยุกต์เข้ากับองค์กรตนได้
กลุ่มเป้าหมาย
- เจ้าของกิจการขนาดย่อม (SME)
- นักบัญชี และผู้ที่ทำหน้าที่จัดการด้านการจัดทำบัญชีในธุรกิจขนาดย่อม (SME)
หัวข้อฝึกอบรม
Module 1 การจัดทำบัญชีชุดเดียว จำนวน 6 ชั่วโมง
1.1 หลักการ ที่มา และแนวคิดเกี่ยวข้องกับการทำบัญชีชุดเดียว
1.2 เงื่อนไข และ เอกสารที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชีชุดเดียว
1.3 ผลประโยชน์ที่ได้รับ จากนโยบายสนับสนุนการทำบัญชีชุดเดียวจากภาครัฐ
1.4 การอ่านและวิเคราะห์งบการเงิน
1.5 การปรับบัญชีชุดเดียว
1.6 สรุปและตอบข้อซักถาม
Module 2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวน 6 ชั่วโมง
2.1 การวางแผนภาษีเกี่ยวกับรายได้
- รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี
- วิเคราะห์และวางแผนเกี่ยวกับรายได้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อน
- วางแผนภาษีเกี่ยวกับรายการที่ทางบัญชียังไม่ถือเป็นรายได้แต่ด้านภาษีมองว่ารายได้เกิดขึ้นแล้ว
2.2 การวางแผนภาษีด้านรายจ่าย
- รายจ่ายที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี
- การวางแผนรายจ่ายเกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวร สินค้าคงเหลือ หนี้สูญ
- การวางแผนเกี่ยวกับรายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับให้เป็นรายจ่ายทางภาษีได้และสรรพากรยอมรับ
- การวิเคราะห์และวางแผนภาษีเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้าม
2.3 การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.4 ปัญหาด้านรายได้
- การรับรู้รายได้ที่เจ้าหนี้ไม่เรียกเก็บ
- เงินได้ที่ได้รับยกเว้น
- รายได้ข้ามรอบระยะเวลาบัญชี
- การแยกรายการรายได้แบบ ภ.ง.ด.50
2.5 ปัญหาด้านรายจ่าย
- การจำหน่ายหนี้สูญ
- ค่าเสื่อมราคา
- การออกภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแทนผู้รับเงิน
- รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ
2.6 ปัญหาการยื่นแบบและการชำระภาษี
2.7 Update และข้อหารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
วิทยากร
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา อิสระวรวาณิช
อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิธีการฝึกอบรม
วิธีการฝึกอบรมเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและนำหลักทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติจริงให้มากที่สุด วิธีการฝึกอบรมจึงประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมแต่ละกรณี ได้แก่
- บรรยาย
- กรณีตัวอย่าง
- Workshop
การผ่านการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงมีสิทธิ์ได้รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาการอบรม
อบรมวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2567
เวลา 09.00 - 16.00 น.
สถานที่อบรม
ณ อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าธรรมเนียมการอบรม
-
ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 10,500 บาท
-
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรในคณะฯ 25% คนละ 7,875 บาท
-
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20% คนละ 8,400 บาท
-
สิทธิพิเศษสำหรับบุคลากรในคณะฯ และบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาอบรม 3 คน จ่ายค่าธรรมเนียม 2 คน (กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนสมัครใช้สิทธิ์)
ซึ่งรวมถึง
1. เอกสารประกอบการบรรยาย
2. ค่าอาหารกลางวัน และอาหารว่างตลอดการอบรม
3. แฟ้มเอกสาร และสมุดบันทึก
4. วุฒิบัตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4506 (ติดต่อ คุณจุฑาทิพย์)
Mobile : 09-1119-4503 (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th