การบริหารโครงการให้ประสบความสําเร็จ เป้าหมายหลักคือ ผลงานคุณภาพ ใช้เวลาน้อยและมีกําไร ต้นทุนค่าใช้จ่ายจึงเป็นปัจจัยสําคัญ การบริหารงานผิดพลาดและไม่สามารถควบคุมติดตามผลงานและค่าใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของโครงการ บริษัทส่วนใหญ่ขาดบุคลากรหน้างานทําหน้าที่บันทึกความก้าวหน้าของงาน ข้อมูลการใช้วัสดุและแรงงาน และขาดบุคลากรสํานักงานสําหรับติดตามข้อมูลจากหน้างานมารวบรวมจัดหมวดหมู่เอกสารและบันทึกประมวลผลค่าใช้จ่าย มักจะใช้ประสบการณ์ของผู้จัดการโครงการ ในการคาดคะเนสถานการณ์อย่างไม่มีระบบ จึงเป็นสาเหตุของปัญหาการรับรู้ต้นทุนของโครงการที่กําลังดําเนินงานได้อย่างทันเหตุการณ์รีบเร่งแก้ปัญหาไม่ทําให้ลุกลามจนเกิดภาวะขาดทุนรุนแรงจากข้อจํากัดข้างต้น ทําให้เกิดปัญหาการบริหารต้นทุน การวางแผนก่อนเริ่มโครงการ ผู้บริหารจําเป็นต้องติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มความต้องการวัสดุและแรงงาน การประมาณการทั้งทางด้านเวลาและต้นทุนต้องถูกต้องเที่ยงตรงแม่นยํา งบประมาณที่ได้ตั้งไว้ก็เหมาะสมกับความเป็นจริง ในระหว่างดําเนินการโครงการต้องติดตามควบคุมด้านเวลาและค่าใช้จ่ายเกิน การขาดสภาพคล่องทางการเงินย่อมส่งผลให้งานล่าช้าสะสมจนกระทบถึงต้นทุนโครงการและสภาวะขาดทุนในที่สุด
วัตถุประสงค์
ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการทำ Feasibility Study และวิธีการในการทำ Feasibility Study ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด
รายละเอียดหลักสูตร จำนวน 24 ชั่วโมง
1. ความหมายและคุณสมบัติของโครงการลงทุน
2. ขั้นตอนการพัฒนาโครงการลงทุน
3. การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนขั้นต้น
4. การวิเคราะห์ด้านตลาด
4.1 วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ด้านตลาด
4.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ด้านตลาด
4.3 ข้อมูลจากแผนการตลาดและการขาย
5. การวิเคราะห์ด้านเทคนิค
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ด้านเทคนิค
5.2 ขอบเขตการวิเคราะห์ด้านเทคนิค
5.3 ข้อมูลจากการวิเคราะห์ด้านเทคนิค
6. การวิเคราะห์ด้านการเงิน
6.1 วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ด้านการเงิน
6.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ด้านการเงิน
6.3 สรุปเงินลงทุนในโครงการ
7. เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนในโครงการ
7.1 ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
7.2 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value)
7.3 อัตราผลตอบแทนลดค่า (Internal Rate of Return)
7.4 ดัชนีการทำกำไร (Profitability Index)
7.5 อัตราผลตอบแทนลดค่าปรับค่า (Modified Internal Rate of Return)
8. การวิเคราะห์เปรียบเทียบ NPV และ IRR
9. กระแสเงินสดปกติและไม่ปกติ และ IRR มากกว่าหนึ่งค่า
10. วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยง
11. การคำนวณกระแสเงินสดของโครงการ
12. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่กระทบต่อกระแสเงินสดโครงการ
13. การวิเคราะห์โครงการที่มีอายุไม่เท่ากัน
14. องค์ประกอบของตัวแบบทางการเงิน (ประมาณการ)
15. ขั้นตอนการจัดทำประมาณการทางการเงิน
16. หลักการสร้างตัวแบบประมาณการทางการเงินที่ดี
17. แนวคิดกระแสเงินสด
18. Workshop การจัดทำประมาณการด้านการเงิน
(ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านจัดเตรียมโน๊ตบุ้คมาคนละหนึ่งเครื่องและฝึกทำประมาณการตามกรณีศึกษาตัวอย่างร่วมกัน)
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ และบุคคลที่สนใจ
วิธีการฝึกอบรม
วิธีการฝึกอบรมเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและนำหลักทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติจริงให้มากที่สุด วิธีการฝึกอบรมจึงประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมแต่ละกรณี ได้แก่
- การบรรยาย
- การอภิปรายกลุ่มย่อย
- กรณีศึกษา
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
วิทยากร
อาจารย์ธนเดช มหโภไคย
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านฝึกอบรมทางธุรกิจและการเงิน
การผ่านการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียน จะได้รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาการอบรม
รุ่นที่ 42 อบรมวันที่ 18,19 พฤศจิกายน และ 2, 3 ธันวาคม 2567 (วันจันทร์ และ วันอังคาร)
รุ่นที่ 43 อบรมวันที่ 18, 19, 25 และ 26 มกราคม 2568 (วันเสาร์ และ อาทิตย์)
เวลา 09.00 – 16.00 น.
สถานที่อบรม
ณ อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมอบรม 19,500 บาท
ราคานี้รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการสอน และวุฒิบัตร
ภาพกิจกรรมการอบรม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4506 (ติดต่อ คุณจุฑาทิพย์)
Mobile : 09-1119-4503 (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th