เหตุผลของการฝึกอบรมสัมมนา
-
คนเรามีความสามารถไม่เท่ากัน พนักงาน ‘ผู้มีความสามารถสูง’ อาจมีผลงานมากกว่าพนักงานปกติได้ถึง 20 เท่าหรือมากกว่านั้น การบริหารผู้มีความสามารถสูงเหมือนการบริหารพนักงานทั่วไป โดยไม่สนใจความแตกต่าง เป็นเรื่องเสียของ เสียโอกาส บั่นทอนกำลังใจของผู้เหนือมาตรฐาน และนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันขององค์การ
-
พนักงานผู้มีความสามารถสูงเป็นปัจจัยตัดสินแพ้-ชนะในการแข่งขันทางธุรกิจ องค์การทั้งหลายทั่วโลกต่างตระหนักในความจริงนิ้ จึงมีการทำ ‘สงคราม’ แย่งชิงคนเก่งในทุกตำแหน่ง ทุกสายงานและทุกระดับชั้น
-
การบริหารพนักงานผู้มีความสามารถสูงเป็นเรื่องท้าทายมาก เพราะคนเก่งหายาก ลำบากในการไขว่คว้า ต้องพัฒนายาวนานด้วยงบประมาณมหาศาล คนเก่งบริหารได้ยาก อาจเกิดความผิดพลาดในกระบวนการ เช่น ได้คนที่ ‘เก่งไม่จริง’ หรือ ‘เก่งจริง’ แต่ ‘ไม่เป็นที่ยอมรับ’ คนเก่งที่ได้อาจ ‘ตกม้าตาย’ หรือ ‘จอดป้าย’ ก่อนเวลาอันควร หากคนเก่งอยู่ตลอดรอดฝั่ง ก็ยังมีปัญหาที่ยากลำบากกว่า คือการรักษาคนเก่งให้อยู่นานๆ เพราะคนเก่งพร้อมแสวงหาความก้าวหน้า สิ่งท้าทายและโอกาสใหม่ๆ ในขณะที่ใครๆ ก็อยากได้และพร้อมจ่ายเพื่อได้มา
-
องค์การชั้นนำและนักบริหารชั้นยอดจึงต้องมีกลยุทธ์ ระบบและวิธีการบริหารพนักงานผู้มีความสามารถสูง ที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งจูงใจให้คนเก่งพัฒนาตน สร้างสรรค์ผลงาน และอยู่กับองค์การไปนานๆ โดยเป็นที่ยอมรับและไม่ทำให้พนักงานผลงานปกติเสียหมดกำลังใจ
หัวข้อวิชา จำนวน 6 ชั่วโมง
- ความสำคัญของการบริหารพนักงานผู้มีความสามารถสูง
- เกณฑ์การพิจารณาผู้มีความสามารถสูง
- การประเมินพนักงานผู้มีความสามารถสูง
- การพัฒนาพนักงานผู้มีความสามารถสูง
- Best Practices & Cases
- ระบบสนับสนุนการบริหารผู้มีความสามารถสูง
- มุมมองใหม่ในการบริหารพนักงานผู้มีความสามารถสูง
- ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารพนักงานผู้มีความสามารถสูง
กลุ่มเป้าหมาย
โครงการนี้จัดขึ้นสำหรับ
1. ผู้บริหารและผู้จัดการสายงานหลัก
2. ผู้บริหารและผู้จัดการด้านทรัพยากรมนุษย์
3. ผู้ประกอบการ
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- การตั้งคำถาม
- อภิปราย
- กรณีศึกษา
วิทยากร
ผศ. ดร.เมธาวุฒิ พีรพรวิทูร
อดีตอาจารย์ประจำ สาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตกรรมการบริหาร สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีต อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการบริหารกำลังคนภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝึกอบรม บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
การผ่านการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จะได้รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาการอบรม
อบรมวันที่ 18 ตุลาคม 2566
เวลา 09.00 – 16.00 น.
สถานที่อบรม
ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 5,500 บาท ซึ่งรวมถึง
1. เอกสารประกอบการบรรยาย
2. ค่าอาหารกลางวัน และอาหารว่างตลอดการอบรม
3. วุฒิบัตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4513 (ติดต่อ คุณศิวนาถ)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th