หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการทำตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมทสินค้าหรือแบรนด์ เพื่อให้สินค้าเหล่านั้นเป็นที่รู้จักและเกิดความน่าสนใจต่อผู้บริโภคจนมาใช้บริการหรือซื้อสินค้าในที่สุด และนำมาสู่การเป็นผู้บริโภคที่มีความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตและสร้างยอดขายได้อย่างแท้จริง โดยปัจจุบันโลกของธุรกิจก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการทำธุรกิจแบบ Business to Business (B2B) และ Business to Customer (B2C) ถือว่าได้รับความสนใจ เพราะเป็นการเชื่อมโยงการตลาดระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการกับกลุ่มผู้บริโภค ผ่านการทำตลาดออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งยังพัฒนาต่อยอดกลยุทธ์ทางธุรกิจในลักษณะ Business to Business to Customer (B2B2C) เพื่อขยายความสามารถการแข่งขันในตลาดออนไลน์ ไปพร้อม ๆ กับการใช้เครื่องมือทางการดิจิทัลมาเพิ่มความสามารถให้การวิเคราะห์ผู้บริโภค จนนำมาสู่การขายในลักษณะของการให้คำปรึกษา (Consultative Selling Techniques) ที่สามารถจัดโครงสร้างราคาขายเฉพาะตัวบุคคลและมีความสามารถให้การนำสินค้าเข้าถึงบุคคลที่ความเฉพาะเจาะจงในความนิยมชมชอบได้อย่างดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1. ผู้เรียนสามารถเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกดิจิทัลทั้ง B2B และ B2C
2. ผู้เรียนสามารถปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป
3. ผู้เรียนเข้าใจเครื่องมือทางการตลาดสมัยใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลนำทางในการวางกลยุทธ์ทางการตลาด
กลุ่มเป้าหมาย
1. เจ้าของกิจการขนาดย่อมถึงขนาดกลาง
2. นักการตลาด
3. พนักงานบริษัท รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานราชการ
4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระรวมทั้งผู้ที่สนใจนำความรู้ทางการตลาดไปใช้ในการประกอบธุรกิจ
5. ผู้สนใจทั่วไป
รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตร จำนวน 6 ชั่วโมง
-
พัฒนาการของแนวคิดธุรกิจและการตลาด B2B และ B2C
-
การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
-
การประยุกต์ใช้การตลาดสมัยใหม่ผสมผสานกับรูปแบบการขายแบบเดิม
-
การทำความเข้าใจลูกค้า (Customer Insight) ที่เปลี่ยนแปลงทั้งในรูปแบบของ B2B และ B2C เพื่อพัฒนาต่อยอดกลยุทธ์ธุรกิจในลักษณะ B2B2C
-
การสร้างระบบนิเวศน์ดิจิทัล (Digital Ecosystem) ให้พันมิตรคู่ค้าเติบโตไปพร้อมกับองค์กร
-
การทำวิจัยและการแบ่งส่วนตลาดสมัยใหม่ (Real-time Segmentation) โดยใช้เครื่องมือทางการตลาดดิจิทัลและการตลาดอัตโนมัติ (Marketing Automation) เพื่อเพิ่มความสามารถในการรู้จัก รู้ใจ และนำเสนอสินค้าและบริการเฉพาะส่วนบุคคล (Personalization)
-
การผสมผสานการใช้เครื่องมือทางดิจิทัลและการบริหารบุคลากร
-
การออกแบบเนื้อหา (Content) กลยุทธ์ทางการตลาดให้สอคล้องกับเส้นทางการซื้อลูกค้า (Customer Journey) โดยใช้เครื่องมือทางการตลาดแบบเดิมและแบบดิจิทัล
-
การสร้างแบรนด์ (Brand Story Telling) ในโลกดิจิทัล
-
การคาดการณ์ (Predictive Marketing)
-
การขายในลักษณะการให้คำปรึกษา (Consultative Selling Techniques)
-
การจัดโครงสร้างราคาขายเฉพาะส่วนบุคคล
-
การส่งเสริมการขายเพิ่มความสามารถในการทำกำไร (Marketing Profitability)
วิทยากร
อาจารย์วิทยา จารุพงศ์โสภณ
ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการตลาด
วิธีการฝึกอบรม
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนและฝึกปฏิบัติจริงโดยสลับกับเนื้อหาการเรียน ผู้เรียนต้องเตรียม โครงการธุรกิจที่ต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมาฝึกปฏิบัติในห้องเรียน การเรียนเชิงให้คำปรึกษา Practical Approach
การผ่านการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงมีสิทธิ์ได้รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาการอบรม
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
อบรมเวลา 09.00 – 16.00 น.
สถานที่สัมมนา
ณ อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าธรรมเนียมการอบรม
-
ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 6,900 บาท
-
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรในคณะฯ 25% คนละ 5,175 บาท
-
ค่าธรรมเนียมมีส่วนลด บุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20% คนละ 5,520 บาท
-
สิทธิพิเศษสำหรับบุคลากรในคณะฯ และบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาอบรม 3 คน จ่ายค่าธรรมเนียม 2 คน (กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนสมัครใช้สิทธิ์)
ราคานี้รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการสอน และวุฒิบัตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4506 (ติดต่อ คุณจุฑาทิพย์)
Mobile : 09-1119-4503 (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th