Open ENROLLMENT Programs (Public Training Course)

![]()
การจัดทำบัญชีในอดีตมักจัดบัญชีทำบัญชีสำรองหลายบัญชี หลายครั้งเป็นไปเพื่อการเลี่ยงภาษีอากร จึงทำให้เกิดความยากลำบากในการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐ และในด้านของผู้ประกอบการเองก็ไม่สามารถขอกู้เงินในนามของบริษัทได้ เพราะมีเงินหมุนเวียนในบัญชีที่กระจัดกระจายและไม่น่าเชื่อถือ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาสินเชื่อเพื่อธุรกิจ จากบัญชีชุดเดียวที่กิจการยื่นส่งต่อกรมสรรพากรเท่านั้น นอกเหนือจากความรู้ด้านการจัดทำบัญชีแล้ว ความรู้ทางด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลก็มีความสำคัญที่และประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ประกอบการ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่นำไปใช้ในการวางแผนและช่วยให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้อง การจัดทำบัญชีชุดเดียวจึงมีประโยชน์ในด้านความสะดวกสบายในการปรับปรุงบัญชี มีระบบบัญชีที่ดี ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์แผนธุรกิจและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อสู้กับคู่แข่งได้ทันที การยื่นเอกสารและหลักฐานกับธนาคารนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น ธุรกิจมีงบการเงินที่น่าเชื่อถือ มีโอกาสได้เพิ่มวงเงินในการขอสินเชื่อได้มากขึ้น รวมถึงมีโอกาสได้รับการสนับสนุน นโยบายจากภาครัฐเพิ่มเติมอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐานในการทำบัญชีชุดเดียว
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบเทคนิคและวิธีการทำบัญชีชุดเดียว
3. เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเสียภาษีเงินได้นิติบุคล
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถวางแผนการเสียภาษีที่สอดคล้องกับกิจกรรมขององค์กร
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในเรื่องการจัดทำบัญชีร่วมกัน
6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการดังกล่าวไปประยุกต์เข้ากับองค์กรตนได้
กลุ่มเป้าหมาย
- เจ้าของกิจการขนาดย่อม (SME)
- นักบัญชี และผู้ที่ทำหน้าที่จัดการด้านการจัดทำบัญชีในธุรกิจขนาดย่อม (SME)
หัวข้อฝึกอบรม
Module 1 การจัดทำบัญชีชุดเดียว (จำนวน 3 ชั่วโมง)
1.1 หลักการ ที่มา และแนวคิดเกี่ยวข้องกับการทำบัญชีชุดเดียว
1.2 เงื่อนไข และ เอกสารที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชีชุดเดียว
1.3 ผลประโยชน์ที่ได้รับ จากนโยบายสนับสนุนการทำบัญชีชุดเดียวจากภาครัฐ
1.4 การปรับบัญชีชุดเดียว
1.5 สรุปและตอบข้อซักถาม
Module 2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล (จำนวน 3 ชั่วโมง)
2.1 การวางแผนภาษีเกี่ยวกับรายได้
- รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี
- วิเคราะห์และวางแผนเกี่ยวกับรายได้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อน
- วางแผนภาษีเกี่ยวกับรายการที่ทางบัญชียังไม่ถือเป็นรายได้แต่ด้านภาษีมองว่ารายได้เกิดขึ้นแล้ว
2.2 การวางแผนภาษีด้านรายจ่าย
- รายจ่ายที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี
- การวางแผนรายจ่ายเกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวร สินค้าคงเหลือ หนี้สูญ
- การวางแผนเกี่ยวกับรายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับให้เป็นรายจ่ายทางภาษีได้และสรรพากรยอมรับ
- การวิเคราะห์และวางแผนภาษีเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้าม
วิทยากร
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา อิสระวรวาณิช
อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิธีการฝึกอบรม
ฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์
การผ่านการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงมีสิทธิ์ได้รับวุฒิบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาการอบรม
รุ่นที่ 3 อบรมวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565
อบรมเวลา 09.00 – 16.00 น.
ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 4,200 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4503 (ติดต่อ คุณธัญลักษณ์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th
|
LINE Call : 09 1119 4503 [เวลา 8.30 - 17.00 น.]
Today is Tuesday, 2023-03-21 | Privacy Policy | Copyright © 2017 CONC. all rights reserved.